วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แผนภูมิวงรอบเหตุและผล (Causal Loop Diagram : CLD)

 แผนภูมิวงรอบเหตุและผล (Causal Loop Diagram : CLD)

แผนภูมิวงรอบเหตุและผล CLD จะทำให้มองเห็นความสัมพันธ์  และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบดังนี้
  1. วงรอบการป้อนกลับ 1 วงรอบ หรือ มากกว่า ซึ่งเป็นทั้งกระบวนการเสริมแรงและกระบวนการสร้างความสมดุล
  2. ความสัมพันธ์ของเหตุและผลกระทบระหว่างตัวแปรต่างๆ
  3. ความหน่วงของเวลา(Delays)คือ มีปัญหา(input)เข้ามา
การวาดปัญหาออกมาเป็นแผนภูมิ จะทำให้มองออกว่า อะไร Must know อะไร Should know
S = Same หรือ + (Positive)
O = Opposite หรือ – (Negative)
R = Reinforcing Loop วงรอบเสริมแรง
B = Balancing Loop วงจรปรับสมดุล
วงรอบเสริมแรงจะขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน
“การเขียนผังเชิงระบบ” (System Diagram/Casual loop)
  1. กำหนด ประเด็นปัญหาหลักให้ชัดเจน (ที่เรื้อรังและเกิดซ้ำ) และสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหา – อาการของปัญหา และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
  2. ระบุ “ตัวแปรที่สำคัญ” ที่เป็นส่วนทำการขับเคลื่อนความเป็นไปของเหตุการณ์  โดยระบุชื่อให้ชัดเจนใช้คำพูดเป็นกลางหรือที่เป็นบวก
  3. ศึกษาพฤติกรรมโดยมองย้อนเวลาถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
  4. เขียนกราฟแสดงพฤติกรรมเทียบกับเวลา (BOT)
  5. ทบทวนความสัมพันธ์ของตัวแปร
  6. วาด ผังเชิงระบบ (System diagram)

Spider Model

การคิดเชิงระบบด้วย SPIDER MODEL 

Spider Model

SPIDERMODEL เป็นการนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจไว้ใน1หน้ากระดาษเพื่อให้เห็นภาพไอเดียธุรกิจที่ชัดเจนและเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งพัฒนามาจากBusinessCanvasและLeanCanvasการนำเสนอภายใต้กรอบโมเดลนี้จะทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของความเป็นไปได้ทางธุรกิจ โดยวิเคราะห์ตามขั้นตอนในการคิดแบบเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและสามารถประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น คือ 1.ProductRisk2.CustomerRisk 3.MarketRisk 4.FinancialRisk รวมถึงการประเมินร่วมกับปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคเพื่อวิเคราะห์ว่าแนวคิดที่ผู้ประกอบการนำเสนอมีความเป็นไปได้(Feasibility)ภายใต้สถานการณ์ณปัจจุบันมากน้อยเพียงใดอย่างไรก็ตามระดับของความเป็นไปได้ย่อมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนักลงทุนแต่ละคนว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับ โมเดลนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการได้นำเสนอแนวคิดที่นอกจากจะเห็นภาพไอเดียของตัวธุรกิจแล้วยังครอบคลุมปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างครบถ้วนรวมทั้งช่วยให้เห็นภาพด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วยคำอธิบายตามกรอบSPIDERMODEL
สินค้าและบริการ : ประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องการนำเสนอ 1.ปัญหาของลูกค้า(Problem) เป็นการคิดโดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง (ที่เรียกว่าCustomerDevelopment)โดยระบุปัญหาที่ลูกค้าเจอคืออะไรผู้ประกอบการจะสามารถวิเคราะห์ได้ถึงขนาดของตลาดว่าใหญ่หรือเล็กเพียงใดได้โดยประมาณการจากจำนวนของลูกค้าที่ต้องเจอกับปัญหาดังกล่าว 2.ทางออกของปัญหา(Solution) สินค้าของเราสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างไรเป็นการนำเสนอทางเลือกในการออกจากปัญหาด้วยวิธีการที่แตกต่างจากสินค้าเดิมในตลาดเพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางการตลาดและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต 3.คุณค่าของสินค้าที่นำเสนอ(UniqueValueProposition) คุณค่าหลักของสินค้าและบริการที่ต้องการนำเสนอจะเห็นว่าใช้คำว่าUniqueคือเป็นคุณค่าหลักที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่งหรือสินค้าเดิมในตลาด 4.กลุ่มเป้าหมาย(TargetCustomer) การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าของธุรกิจซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ยอมควักเงินซื้อสินค้าและบริการของเรา 5.ช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย(Channel) วิธีการที่จะนำสินค้าให้เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่วางไว้รวมถึงการกระจายสินค้าซึ่งอาจทำได้หลากหลายวิธี 6.ทรัพยากรหลักที่มี(KeyResource) ซึ่งเป็นได้ทั้งคนทรัพย์สินทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพยากรที่มีและใช้สร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้กับธุรกิจได้หรือเป็นทรัพยากรที่ช่วยสนับสนุนให้แผนธุรกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการและนักลงทุน 7.กิจกรรมหลักของธุรกิจ(KeyActivities) เป็นการดำเนินงานหลักของธุรกิจที่จะทำให้เกิดUniqueValuePropositionในสินค้าและบริการเรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่จะทำให้โมเดลนี้ทำงานก็ว่าได้ 8.กระแสรายได้(RevenueStream) ช่องทางของรายได้ที่เข้ามาให้เห็นความชัดเจนว่าธุรกิจจะมีรายได้จากช่องทางไหนอย่างไรและเท่าไร 9.ต้นทุน(CostStructure) ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไรและเท่าไรทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่(FixedCost)และต้นทุนผันแปร(VariableCost) 10.จุดคุ้มทุน(BreakEvent) การประมาณการถึงจุดที่ธุรกิจสามารถทำกำไรได้เท่ากับต้นทุนที่ลงไปอาจเป็นจำนวนชิ้นหรือเป็นระยะเวลาเพื่อให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนใช้เป็นแนวทางในการวางแผนด้านการเงินให้เหมาะสม 11. 4กรอบสุดท้ายคือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจเพื่อประเมินว่าธุรกิจมีจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคที่ต้องพบอย่างไรบ้าง

ตัวอย่าง


การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง (DRAWING BEHAVIOR OVER TIME GRAPHS)

การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง (DRAWING BEHAVIOR OVER TIME GRAPHS)

           กราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง หมายถึง การคิดอย่างเป็นขั้นตอนด้วยแสดงพฤติกรรมของตัวแปรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อมองเห็นทิศทาง แนวโน้ม รูปแบบการเปลี่ยนแปลง นาไปสู่การช่วยคิดสมมติฐานในการหาความสมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ 

         องค์ประกอบของกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง
          1. แนวนอนเป็นมิติเวลา คือ สิ่งที่แสดงช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ปี พ.ศ., เดือน ปี, วัน เวลา เป็นต้น
          2. แนวตั้งเป็นมิติปริมาณ คือ สิ่งที่แสดงถึงสาระของประเด็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้น ๆ
การ


การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง (Drawing Behavior Over Time Graphs)
         1. จุดเริ่มต้น หรือจุดปัญหาของสิ่งที่เกิดขึ้น 
         2. จุดก่อนหน้าปัจจุบัน (อดีต) 
         3. จุดปัจจุบัน 
         4. จุดอนาคต (เพื่อการทำนาย)

ตัวอย่าง
กราฟพฤติกรรมมาเรียนสายภายใต้ช่วงเวลา ๑ เดือน (Forest thinking)


ปิรามิด IPESA




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พีระมิดipesa


ความหมายของปิรามิด IPESA

               ปิรามิด IPESA หมายถึง แผนภาพรูปทรงสามเหลี่ยมที่แสดงถึงการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบของกระบวนการคิด และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยประกอบด้วยประเด็นในการคิดอย่างเป็นระบบ โดยมี 5 องค์ประกอบตามตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรก เป็น IPESA ได้แก่
 I = Ideal Situation, P = Present Condition, E = Existing Problems, S=Solution Problems และ A=Aims of Solution

รายละเอียดขององค์ประกอบปิรามิด IPESA

         องค์ประกอบที่ 1 Ideal Situation คือ การเขียนหรือวิเคราะห์สังเคราะห์ความคิดจากสิ่งที่คาดหวัง สภาพที่พึงประสงค์ ของประเด็นนั้น ๆ ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์จากนโยบาย หรือแผนงานของเรื่องราวที่เกิดขึ้น เช่น นโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้า หรือสิ่งที่เกิดจากหน่วยงาน นโยบายรัฐบาล เป็นต้น โดยควรมีการอ้างอิง และระบุแหล่งที่มาของความคาดหวังดังกล่าว

         องค์ประกอบที่ 2 Present Condition คือ สภาพปัจจุบันของสิ่งที่กาลังจะเกิดขึ้น โดยอาจเขียนเป็นลาดับข้อเพื่อเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ

         องค์ประกอบที่ 3 Existing Problems คือ สภาพปัญหาของประเด็นที่กาลังเกิดขึ้นโดยสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสภาพปัจจุบันในองค์ประกอบที่ 2

         องค์ประกอบที่ 4 Solution Problems คือ การแก้ไขปัญหา โดยเป็นประเด็นการแก้ไขนั้นต้องสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น

         องค์ประกอบที่ 5 Aims of Solution คือ วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา ว่าอยากให้เกิดวิธีการแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง



วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

PDCA

เครื่องมือในการคิดเชิงระบบและวิเคราะห์ปัญหาที่ 6
ด้วยการวิเคราะห์ PDCA 


PDCA
             1. Plan (วาง แผน) หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การ จัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
            2.Do (ปฏิบัติ ตามแผน) หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ (เช่น คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ) มีวิธีการ ดำเนินการ (เช่น มีการประชุมของคณะกรรมการมีการจัดการเรียน การสอน มีการแสดงความจำนงขอรับนักศึกษาไปยังทบวงมหาวิทยาลัย) และมีผลของการดำเนินการ (เช่น รายชื่อนักศึกษาที่รับในแต่ละปี)
            3.Check (ตรวจ สอบการปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน
             4.Act (ปรับ ปรุงแก้ไข) หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการในครั้งต่อไป
  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ pdca

การวิเคราะห์ SWOT

เครื่องมือในการคิดเชิงระบบและวิเคราะห์ปัญหาที่ 4 
ด้วยการวิเคราะห์ SWOT 

ความหมายการวิเคราะห์ SWOT
             SWOT เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารกาหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและปัญหาอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนถึงผลกระทบที่มีต่อศักยภาพ ในการทางานของกิจกรรมและการแก้ปัญหา คาว่า SWOTเป็นตัวย่อที่มีความหมาย ดังนี้
             S มาจาก คาว่า Strengths หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ เป็นปัจจัยภายในที่มีผลดีต่อการดาเนินงานของทีมงาน ซึ่งทีมงานจะต้องค้นหาความสามารถที่โดดเด่น เพื่อนามากาหนดเป็นกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลักษณะการบริหารงานของทีมงาน เช่น ทีมงานภาครัฐนามากลยุทธ์เพื่อให้การดาเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายหรือตาม แผนที่วางไว้ ส่วนทีมงานธุรกิจนาจุดแข็งมากาหนดเป็นกลยุทธ์เพื่อให้มีความสามารถโดดเด่น เหนือคู่แข็งทางด้านการตลาด
             W มาจาก คาว่า Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ เป็นปัจจัยภายในที่มีผลกระทบหรือส่งผลเสียต่อการบริหารงานของทีมงาน เช่น ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เครื่องมือเครื่องใช้ขาดคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน ทาให้ทีมงานไม่สามารถนามาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน
              O มาจาก คาว่า Opportunities หมายถึง โอกาสหรือปัจจัยภายนอกที่
เอื้ออานวยให้การทางานของทีมงานบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งได้แก่สภาพแวดล้อมที่นามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การดาเนินงาน
                T มาจาก คาว่า Threats หมายถึง อุปสรรคหรือข้อจากัด ที่เป็นภัยคุกคามต่อการดาเนินงานของทีมงาน เป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากการควบคุมาและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางป้องกันให้ได้รับผลกระทบหรือมี ความเสียหายน้อยลง

กรอบและขั้นตอนใน การวิเคราะห์ SWOT
               สิ่งสาคัญที่จะต้องคานึงถึงสาหรับการวิเคราะห์ SWOT คือ การกาหนดกรอบหรือกาหนดประเด็น เพื่อให้การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคได้อย่างถูกต้อง หลักในการกาหนดกรอบหรือกาหนดประเด็นวิเคราะห์ SWOT ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจหรือธรรมชาติของทีมงานนั้นๆซึ่งมีความแตกต่าง กันหลายรูปแบบ

ประเด็นสาหรับการวิเคราะห์
           1. เอกลักษณ์ของทีมงาน
           2. ขอบเขตของกิจกรรม
           3. แนวโน้มและสภาพแวดล้อมที่จะกลายเป็นโอกาสและอุปสรรค
           4. โครงสร้างของกิจกรรม
           5. รูปแบบการเติบโตตามที่คาดหวังและตั้งเป้าหมาย

ข้อควรคำนึง
           1. ทีมงานต้องกาหนดก่อนว่า ทีมงานต้องการที่จะทาอะไร
           2. การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคต้องกระทาในช่วงเวลาขณะนั้น
           3. ทีมงานต้องกาหนดปัจจัยหลัก (key success factors) ที่เกี่ยวกับการดาเนินงาน
ให้ถูกต้อง
           4. ทีมงานต้องประเมินความสามารถของตนให้ถูกต้อง

ข้อควรระวัง
           1. การระบุจุดอ่อนต้องวิเคราะห์อย่างซื่อสัตย์
           2. การจัดการกับกลไกการป้องกันตนเองต้องกระทาอย่างรอบคอบ
           3. แนวโน้มการขยายจุดแข็งที่เกินความเป็นจริง
           4. ความใกล้ชิดกับสถานการณ์ทาให้มองสถานการณ์ของทีมงานไม่ชัดเจน
           5. การกาหนดบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลต้องระบุให้ชัดเจน
           6. ข้อมูลไม่เพียงพอ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกอาจเป็นโอกาส
หรืออุปสรรคก็ได้

ขั้นตอนและกระบวนการวิเคราะห์SWOT
              การกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนสามารถสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันให้กับทีมงานธุรกิจ และช่วยให้การบริหารงานบรรลุความสาเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้สาหรับทีมงาน ได้แก่
            1.การประเมินสภาพแวดล้อมภายในทีมงาน เป็นการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในทีมงานทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทางานและทรัพยากรในการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดาเนินงานที่ผ่านมา เพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของทีมงาน
             2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกทีมงานนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคในการการดาเนินงานของทีมงานที่ได้รับผลกระทบ เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ทั้งทางตรงและทาง อ้อมต่อการดาเนินการของทีมงาน และสามารถฉกฉวยข้อดีมาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็ง ขึ้นได้ สาหรับอุปสรรคทางสภาพแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกทีมงานใดที่สามารถส่งผลกระทบ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งทีมงาน จาต้องหลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพทีมงานให้มีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญ แรงกระทบดังกล่าวได้
              3.วิเคราะห์สถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกนอกแล้ว ให้นา จุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากปัจจัยภายนอกเพื่อดูว่าทีมงานกาลังเผชิญสถานการณ์ เช่น สถานการณ์ที่เลวร้าย สถานการณ์ที่ทีมงานมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบ เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนา หรือสถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวทีมงานมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ เมื่อทราบสถานการณ์ที่ทีมงานกาลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆ ก็สามารถที่จะนาสถานการณ์นั้นมากาหนดเป็นกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อให้ทีมงาน เกิดการได้เปรียบ ทำให้ทีมงานบรรลุผลสาเร็จ หรือลดผลกระทบทาให้เกิดความเสียหายน้อยลง

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
             วิเคราะห์SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในทีมงาน ซึ่งปัจจัยแต่ละด้านจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดาเนินงานของทีม งานอย่างไร เช่น
         1. จุดแข็งของทีมงาน จะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
         2. จุดอ่อนของทีมงาน จะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทาลายผลการดาเนินงาน
         3. โอกาสทางสภาพแวดล้อม จะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายทีมงาน
         4. อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม จะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมาย
ของทีมงาน

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ swot

โปรแกรม Prezi

โปรแกรม Prezi คืออะไร
             Prezi เป็นโปรแกรมการนาเสนอออนไลน์ และประยุกต์ในการเขียนผังความคิด ที่มีเอกลักษณ์เด่นสุดคือการ ซูมเข้าซูมออกได้นอกจากนี้ ยังมีลักษณะพิเศษอื่นๆ ดังเช่น Prezi เป็น Non-linear presentation นั่นคือ การเดินทางของงานนาเสนอไม่ได้เป็นเส้นตรงที่มุ่งไปข้างหน้า หรือถอยหลังทีละสไลด์ ต่อไป Prezi จะซูมเข้า ซูมออก กระโดดไปโน่น กระโดดไปนี่แล้วแต่เราออกแบบ Prezi สามารถใส่รูปภาพ เสียง วิดีโอ และไฟล์ PDF PPT เป็นต้น Prezi สามารถแก้ไขได้โดยวิธีออนไลน์ (ฟรี) บนเว็บ http://prezi.com ขณะเดียวกันก็สามารถ นาเสนอแบบ online ได้ หรือสามารถดาวน์โหลดลงมาเพื่อนาเสนอแบบ offline และไฟล์ที่ได้จะมีนามสกุล .exe ซึ่งเปิดได้กับทุกเครื่อง โปรแกรม Prezi ต่างจากโปรแกรมPower Point
         1. PowerPoint นาเสนอแบบ linear คือหน้าที่หนึ่ง หน้าที่สอง หน้าที่สาม...ไปเรื่อยๆ
         2. Prezi นาเสนอแบบ zoom คือไม่ได้ไปหน้าหนึ่ง หน้าสองตามลาดับ แต่สามารถกระโดดไปยังข้อมูลที่เราต้องการจะนาเสนอได้ทันที
         3. Prezi สามารถสร้างงานนาเสนอออนไลน์ได้เลย หรือถ้าไม่สะดวกก็สามารถ ก็สามารถดาวน์โหลดมาใช้ที่คอมตัวเองก็ได้
        4. Prezi แทรกรูปภาพได้ เสียงก็ได้ วิดีโอก็ได้ด้วย
        5. ไม่ต้องกังวลว่าจะเปิดไม่ได้ หากไปใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เพราะไฟล์งานจะถูกแปลงเป็น .exe สามารถเปิดได้บนคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง